CEFR等級

มาตารฐานสากลที่ใช้อธิบายระดับความเชี่ยวชาญทางภาษาโดยได้รับการยอมอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป (CEFR Levels)

อะไรคือมาตรฐานสากลที่ใช้อธิบายระดับความเชี่ยวชาญทางภาษา?

คุณมีความคุ้นเคยกับมาตรฐานสากลที่ใช้อธิบายระดับความเชี่ยวชาญหรือไม่? หากคุณเป็นนักเรียนภาษาอังกฤษ แน่นอนว่าคุณจำเป็นต้องเคยได้ยินเกี่ยวกับมันแต่อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรหรือมีความเกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาอย่างไรกันแน่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษและนักเรียนทุกคนนั้นจำเป็นต้องใช้ ระดับ CEFR เพื่อเข้าใจถึงความสามารถใช้การใช้งานภาษาอังกฤษของตน

ระดับ CEFR นั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางในการวัดระดับความสามารถในภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษ และแน่นอนว่าระดับ CEFR นั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากมันเป็นเครื่องมือที่จะช่วยแนะนำและกำหนดกรอบ/เส้นทางการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียน

จินตนาการถึงตอนที่คุณกำลังสมัครงานเพื่อสอนภาษาอังกฤษ และคุณมีความมั่นใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับความสามารถที่คุณมี เนื่องจากคุณสามารถที่จะสื่อสารและแสดงออกสิ่งที่คุณต้องการได้อย่างชัดเจนด้วยภาษาอังกฤษ คุณคิดว่านี่คือข้อได้เปรียบที่คุณมีเมื่อเทียบกับผู้สมัครคนอื่น ๆ รวมไปถึงการที่เพื่อนของคุณบอกว่าภาษาอังกฤษของคุณนั้นดีมาก

แต่ผู้ว่าจ้างอาจคิดว่า น่าเสียดายที่คุณอาจจะเป็นต้องพัฒนาทักษะทางไวยากรณ์และคลังคำศัพท์ให้มากขึ้น เช่นเดียวกับสำเนียงของคุณ และนี่คือสิ่งที่ CEFR จะเข้ามามีบทบาท

ระดับ CEFR นั้นสามารถใช้คำอธิบายถึงระดับความสามารถของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน ประกอบไปด้วยระดับความสามารถทั้งหมด 6 ระดับ เริ่มจาก A1 ที่เป็นระดับเริ่มต้น จนไปถึง C2 ที่เป็นระดับสูง โดยการวัดระดับนั้นจะครอบคลุมทักษะทั้งสี่ด้านทั้ง การฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด

พวกเราจะมาทำการอธิบายเกี่ยวกับระดับ CEFR ในบทความนี้ให้ทุกคนสามารถเข้าใจว่าระดับภาษาของคุณนั้นอยู่ในระดับใด และระดับไหนที่คุณจำเป็นต้องพิชิตโดยขึ้นอยู่กับความต้องการในการสื่อสารภาษาอังกฤษของคุณ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับ CEFR

ระดับ CEFR ถูกพัฒนาขึ้นโดย สภาของยุโรป (Council of Europe) ในช่วงปี 1960 ถึง 1970 แต่ถูกก่อตั้งและใช้งานจริงในปี 1990 โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในพื้นที่ทวีปยุโรป

ระดับ CEFR นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นสามระดับคือ เริ่มต้น (Beginner) ขั้นกลาง (Intermediate) และขั้นสูง (Advanced) ซึ่งใช้เป็นการใช้ตัวอ้างอิงที่เหมือนกับโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษบางแห่ง ในขณะเดียวกัน ระดับ CEFR นั้นยังแบ่งหรือเรียกแทนเป็น พื้นฐาน(Basic) สื่อสารได้ (Independent) และเชี่ยวชาญ (Proficient) โดยในแต่ละระดับจะแบ่งแยกออกเป็นอีกสองระดับย่อย

เพื่อยึดมั่นในระดับมาตาฐานให้มีความเป็นสากล Cambridge English มีการปรับใช้การอ้างอิงระดับภาษาโดยอิงจาก CEFR สำหรับการวัดระดับภาษา ระดับภาษาอังกฤษตามมาตราฐาน Cambridge นั้นใช้งาน CEFR เพื่อสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียน

สภาของอังกฤษนั้นสร้างตารางเปรียบเทียบระดับ CEFR เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานเหล่านี้ และอธิบายว่าผู้เรียนในแต่ละระดับสามารถทำอะไรได้บ้าง

CEFR等級
Reference: British Council

A1 – Elementary

 

นี่คือขอบเขตระดับความสามารถของ A1 สามารถทำได้:

  • ผู้เรียนที่อยู่ในระดับ A1 นั้นสามารถเข้าใจและสามารถใช้งานการแสดงออกพื้นฐานหรือการแสดงออกที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • สามารถใช้วลีง่าย ๆ ได้ โดยยังแสดงให้เห็นถึงความผิดพลาด
  • ผู้เรียนในระดับ A1 นั้นสามารถที่จะทักทายและแนะนำตัวเองกับผู้อื่นได้
  • ผู้เรียนสามารถตอบคำถามพื้นฐานเกี่ยวชีวิตหรือข้อมูลส่วนตัวได้ โดยอาจจะมีช่วงเว้นว่างระหว่างคำที่ค่อนข้างนานและตอบออกมาเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์

A2 – Pre-intermediate

นี่คือขอบเขตที่ระดับความสามารถของ A2 สามารถทำได้:

  • ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อสารพูดคุยในหัวข้อที่คุ้นเคยและสามารถแสดงออกผ่านประโยคได้
  • สามารถสื่อสารในบทสนทนาพื้นฐานได่
  • ผู้เรียนที่อยู่ในระดับนี้สามารถที่จะอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้
  • ผู้เรียนสามารถที่จะแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นด้วยข้อความมาตราฐานและจำกัดรูปแบบของประโยค

B1 – Intermediate

นีคือขอบเขตที่ระดับความสามารถของ B1 สามารถทำได้:

  • ผู้เรียนสามารถที่จะเข้าใจประเด็นหลักของหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งได้
  • ผู้เรียนที่อยู่ในระดับนี้ สามารถที่จะสร้างบทสนทนาที่ลื่นไหลเป็นธรรมชาติและสามารถที่จะสร้างประโยคที่สมบูรณ์และเป็นระเบียบ
  • ผู้เรียนสามารถที่จะอธิบายหัวข้อกว้าง ๆ โดยใช้คำง่าย ๆ ในการอธิบาย
  • ผู้เรียนสามารถที่จะอธิบายความคิดเห็นต่าง ๆ เมื่อพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์ และหัวข้อทั่วไปต่าง ๆ

B2 – Upper Intermediate

นี่คือขอบเขตที่ระดับความสามารถของ B2 สามารถทำได้:

  • ผู้เรียนที่อยู่ในระดับนี้ สามารถเข้าใจข้อความที่ซับซ้อนได้อย่างง่ายดายและเข้าใจแนวคิดหลักเมื่ออ้างอิงจากบริบทของเนื้อความ
  • ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วเมื่อต้องสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ รวมถึงหากคู่สื่อสารเป็นเจ้าของภาษา ก็สามารถสื่อสารได้อย่างผ่อนคลายและมั่นใจ
  • ผู้เรียนสามารถเขียนเกี่ยวกับหัวข้อที่คุ้นเคยและอธิบายความคิดเห็นเพิ่มเติมโดย ในการสะกดคำ การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เครื่องหมายวรรคตอน ฯลฯ มีความผิดพลาดค่อนข้างน้อย
  • ผู้เรียนสามารถสื่อสารกับคนที่อยู่ในระดับภาษาเดียวกันหรือสูงกว่าได้อย่างลื่นไหล

C1 – Advanced

นี่คือขอบเขตที่ระดับความสามารถของ C1 สามารถทำได้:

  • ผู้เรียนที่อยู่ในระดับนี้สามารถเข้าใจ วิเคราะห์ อธิบาย และสรุปเกี่ยวกับข้อความที่ซับซ้อนบางเรื่องรวมทั้งรับรู้ความหมายโดยนัยได้
  • ผู้เรียนมีคลังคำศัพท์ที่ค่อนข้างกว้าง และสามารถใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมแต่ละบริบท
  • ผู้เรียนสามารถที่จะใช้ภาษาได้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในหลากหลายแต่ละสถานการณ์ทั้ง การเข้าสังคม การสื่อสารทางวิชาการ และการทำงาน
  • ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อสารและแสดงออกได้อย่างธรรมชาติและคล่องแคล่ว รวมไปถึงสามารถให้เหตุผลในการความคิดเห็นของตนเองได้

C2 – Proficiency

 นี่คือขอบเขตที่ระดับความสามารถของ C2 สามารถทำได้:

  • ผู้เรียนสามารถอนุมานความหมายและวิเคราะห์เนื้อหาของข้อความหรือบทความที่ยากได้อย่างง่ายดาย
  • ผู้เรียนสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างยืดหยุ่นและเข้าใจตามสิ่งที่พวกเขาได้ยินหรือเห็น
  • ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วไม่ว่าจะเป็นการเขียนและการพูด
  • ผู้เรียนสามารถที่จะวางความคิดของตนผ่านตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมและนำเสนอข้อโต้แย้งที่ถูกต้องด้วยความเชื่อมโยงกันและกระชับ
  • ผู้เรียนมีคลังคำศัพท์และเชี่ยวชาญ ทำให้สามารถที่ใช้คำศัพท์ต่าง ๆ ในหลากหลายบริบททั้งคำศัพท์ที่ยากและไม่คุ้นเคย

ระดับ CEFR นั้นเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการวัดความสามารถของผู้เรียนภาษา โดยเป็นวิธีมาตรฐานในการประเมินทักษะทางภาษาในภาษาและวัฒนธรรมต่างๆ

วัดระดับ CEFR ได้อย่างไร

 

ในการพิจารณาระดับ CEFR ในปัจจุบันของคุณ ให้พิจารณาความสามารถของคุณในการทำความเข้าใจและสื่อสารในภาษานั้น

คุณสามารถถือและติดตามบทสนทนาง่ายๆ ได้หรือไม่? คุณสามารถเขียนย่อหน้าที่สอดคล้องกันได้หรือไม่?

ประเมินทักษะของคุณในการฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน เพื่อให้คุณสามารถระบุจุดที่ต้องปรับปรุงและติดตามความก้าวหน้าของคุณในขณะที่คุณเรียนภาษาอังกฤษ

หลังจากที่คุณได้กำหนดระดับทักษะทางภาษาของคุณตาม CEFR แล้ว คุณสามารถตัดสินใจว่าจะเรียนภาษาอังกฤษต่อหรือสอบวัดมาตรฐาน เช่น IELTS หรือ TOEIC

ในบางกรณี โรงเรียนสอนภาษาที่คุณลงทะเบียนสามารถช่วยให้คุณประเมินตนเองและทักษะทางภาษาของคุณตามระดับ CEFR

CEFR等級

ตารางระดับภาษาของ QQEnglish

ที่ QQEnglish นักเรียนทุกคนเมื่อได้รับเรียนบทเรียนแรกจะเป็นบทเรียนที่ใช้เพื่อการทดสอบระดับภาษา นักเรียนจะได้รับการทดสอบระดับภาษากับครูผู้สอนภาษา ตารางระดับภาษาของ QQEnglish สอดคล้องกับระดับ CEFR แต่มีคำอธิบายอย่างละเอียดและเจาะจงมากขึ้น

ระดับภาษาอังกฤษของผู้ใหญ่นั้นจะมีความแตกต่างกับระดับภาษาอังกฤษของเด็ก รวมไปถึงคำอธิบายเช่นเดียวกัน ระหว่างการตรวจสอบระดับภาษา จะมีการแนะนำนักเรียนเกี่ยวกับวิชาเรียนต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับนักเรียน โดยให้อ้างอิงจากการวัดระดับภาษาของ QQEnglish

นักเรียนสามารถที่จะตัดสินใจเลือกเรียนเป็นหลักสูตรหลักโดยอ้างอิงจากหลักสูตรที่ถูกครูผู้สอนแนะนำ หลักสูตรสำหรับผู้ใหญ่ are broader and more serious. The courses are set according to the student’s level. On the other hand, หลักสูตรสำหรับเด็ก are more interactive where young learners get to enjoy their classes.

รับการทดสอบกับ QQEnglish

คุณเคยลองทดสอบระดับภาษาอังกฤษด้วยตัวของคุณเองแล้วหรือยัง? หากคุณทดสอบแล้ว นั่นมันเยี่ยมไปเลย แต่หากยัง พวกเราสามารถช่วยคุณในการทดสอบระดับภาษาได้

ครูผู้สอนของ QQEnglish สามารถช่วยเหลือให้คุณตรวจสอบระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษผ่านการ ทดลองเรียน First Time Lesson. ครูผู้สอนมีความสามารถที่จะบ่งชี้ถึงจุดเด่นทางด้านภาษาของคุณและให้คำแนะนำเกี่ยวกับทักษะที่คุณควรจะพัฒนา

ลองทดสอบกับ QQEnglish และติดตตามความคืบหน้าทางด้านภาษาของคุณ

You may enjoy these articles

Scroll to Top