英文文章

เรียงความ 8 ประเภทพร้อมกับเทคนิคและแนวทางที่เหมาะสำหรับนักเรียน ESL!

ในโลกสมัยใหม่ การเขียนเรียงความหรือบทความนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบในการการหรือไม่เป็นทางการ การเขียนเรียงความหรือบทความเป็นภาษาอังกฤษนั้นเป็นเรื่องปกติสำหรับนักเรียน ESL ที่เป็นเครื่องมือในการช่วยให้สามารถพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ นักเรียน ESL นั้นจำเป็นจะต้องเขียนหัวข้อบางอย่างโดยการใช้ภาษาอังกฤษ

การเขียนบทความภาษาอังกฤษนั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องท้าทาย ไม่ว่าคุณจะมีความสามารถหรือรอบรู้มากแค่ไหน คุณจำเป็นต้องพิจารณาหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อให้การเขียนนั้นมีผลลัพธ์ที่ดีให้แก่ผู้อ่าน ตอนนี้คุณเป็นนักเรียน ESL ที่ต้องการเป็นผู้เขียนบทความภาษาอังกฤษอยู่ใช่ไหม ปกติแล้วคุณเขียนเรียงความในภาษาอังกฤษอย่างไร ลองมาพูดคุยกันผ่านบทความนี้

เรียงความคืออะไร?

 

เรียงความนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกของผู้เขียนโดยขึ้นอยู่กับหัวข้อที่เลือกไว้ โดยเรียงความนั้นสามารถทำให้เป็นส่วนบุคคลได้ แต่ควรปรับน้ำเสียงเพื่อชักชวนให้ผู้อ่าน

เรียงความนั้นสามารถเขียนขึ้นภายใต้หัวข้อใดก็ได้ที่ผู้เขียนสนใจ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ส่วนตัว ความคิดเห็นทางการเมือง คู่มือแนะนำ หรือแม้กระทั่งการเขียนบรรยายถึงเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง หัวข้อของเรียงความนั้นอาจะเป็นหัวข้อทั่ว ๆ ไป แต่คุณสามารถทำให้ขยายความและให้ข้อมูลเกี่ยวกับมันขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ

เรียงความภาษาอังกฤษนั้นโดยปกติแล้วจะเขียนขึ้นในมุมมองของบุคคลที่หนึ่งและบุคคลที่สาม ในบางสถานการณ์ เช่น ด้านการศึกษาที่จะได้รับการมอบหมายให้เขียนเรียงความภาษาอังกฤษจากที่ปรึกาษา หรือบางครั้งอาจจะเป็นการบ้าน/โครงการในโรงเรียนหรือระดับอุดมศึกษา

การเป็นนักเรียน ESL นั้นคุณจำเป็นต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของเรียงความในภาษาอังกฤษที่คุณต้องการเขียน ทบทวนถึงความต้องการและความสนใจของคุณ เพื่อเป็นการแนะนำคุณให้รู้จักกับเรียงความภาษาอังกฤษ พวกเราได้จดประเภทของเรียงความในภาษาอังกฤษมาให้คุณแล้ว

چطور مقالات انگلیسی زیبایی بنویسیم
ประเภทของเรียงความในภาษาอังกฤษ

นี่คือประเภทที่แตกต่างกันของเรียงความในภาษาอังกฤษ ในฐานะนักเขียน จุดประสงค์การเขียนของคุณนั้นจะส่งผมต่อประเภทของเรียงความที่คุณต้องการเขียนด้วยเช่นเดียวกัน และด้านล่างนี้คือประเภทของเรียงความในภาษาอังกฤษพร้อมกับคำอธิบายโดยย่อ

  • เรียงความโต้เถียง – ในประเภทของเรียงความนี้จะให้ความสนใจไปที่การชักชวนผู้อ่านของผู้เขียนคิดไปตามหัวข้อของเรียงความ คุณอ้างอิงหลักฐานสำหรับการกล่าวอ้างของคุณหรือใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์เหตุผล ในฐานะนักเขียนเรียงความเชิงโต้แย้ง คุณต้องโน้มน้าวผู้อ่านว่าคำกล่าวอ้างของคุณแข็งแกร่งและน่าเชื่อถือมากขึ้น และก่อให้เกิดการถกเถียง (ในทางที่ดี)
  • เรียงความอธิบาย – ในประเภทของเรียงความนี้นั้นจะเป็นการอธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคล กิจกรรม เหตุการณ์ หรือความคล้ายคลึงต่าง ๆ ในการเขียนประเภทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การให้ข้อมูล รายละเอียดที่เกี่ยวกับข้องกับหัวเรื่องของเรียงความ
  • เรียงความบรรยาย  – ประเภทของเรียงความจะมีความเป็นส่วนบุคคลและส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของการตอบคำถาม การสร้างสรรค์และการออกจากกรอบเดิม ๆ นั้นถือเป็นข้อได้เปรียบในการเขียนเรียงความแบบบรรยาย เรียงความประเภทนี้จะไม่ค่อยมีความเป็นทางการ คุณสามาารถที่จะใช้ภาษาภาพพจน์ ถ้อยคำประดิดประดอยในการสร้างความดึงดูดให้กับผู้อ่านได้
  • เรียงความชี้แจง – เรียงความประเภทนี้ใช้เพื่อแสดงความเชี่ยวชาญหรือความรู้ของนักเขียนเกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ซึ่งมักเป็นข้อเท็จจริง ผู้เขียนเรียงความชี้แจ้งในภาษาอังกฤษ จะไม่ใส่อารมณ์หรือความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในเรียงความ
  • เรียงความบอกกระบวนการทำ – เช่นเดียวกับชื่อประเภทของเรียงความ เรียงความบอกกระบวนการทำนั้นเป็นการอธิบายถึงวิธีการทำของบางสิ่งบางอย่าง หรือหากอธิบายสั้น ๆ คือ เป็นการพูดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่ามีการทำอย่างไร ตัวอย่างเช่น “(วิธีการทำเค้ก) how to bake a cake.” คำเกริ่นนำ เช่น first, then, next และ last มักใช้ในเรียงความประเภทนี้
  • เรียงความแสดงการเปรียบเทียบและความแตกต่าง – เช่นเดียวกันกับการเปรียบเทียบที่ปรากฏอยู่ในชื่อ เรียงความแประเภทนี้นั้นจะให้ความสนใจไปที่การอธิบายถึงสิ่งของสองสิ่งหรือสองอย่าง บางครั้งจะอธิบายถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนั้น โดยในเรียงความประเภทนี้จะพบเห็นได้บ่อยในงานเขียนประเภทการศึกษา
  • เรียงความแสดงเหตุและผล – ในเรียงความประเภทนี้จะกล่าวถึงเหตุและผลลัพธ์ของการกระทำหรือสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ผู้เขียนจำเป็นต้องเขียนอธิบายว่าทำไมสิ่งต่าง ๆ ถึงเกิดขึ้น และอะไรที่ทำให้เกิดขึ้น เรียงความนี้จะอธิบายแง่มุมต่าง ๆ ของสาเหตุที่ทำให้เหตุการณ์เกิดขึ้น และไม่ว่ามันจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกหรือเชิงลบก็ตาม
  • เรียงความเชิงสะท้อนความคิดเห็น – ในเรียงความประเภทนี้จะให้ความสนใจไปกับประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนโดยที่พวกเขาจะให้ความคิดเห็นและพิจารณามุมมองที่มีตัวหัวข้อนั้น ๆ โดยปกติแล้วเนื้อหาที่จะปรากฏในเรียงความประเภทสะท้อนควมคิดเห็นนั้นจะเชื่อมโยงและเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับหัวข้อ เช่น ภาพยนตร์หรือเนื้อหาที่ผู้เขียนได้อ่านมา
  • เรียงความที่เน้นการให้ข้อมูล – ในเรียงความประเภทนี้จะเป็นการพูดถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับบางอย่าง เช่น คุณมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่งวางจำหน่ายและคุณสนใจที่จะให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์นั้นให้กับผู้อ่าน คุณสามารถที่จะเขียนเรียงความที่เน้นการให้ข้อมูลเพื่อให้ข้อมูล โดยปกติแล้วจะเป็นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากกว่าการใส่ความเห็นส่วนบุคคลลงไป


    นี่คือประเภทของเรียงความในภาษาอังกฤษ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำให้ผู้อ่านนั้นสนใจและเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ทำการตอบกลับหรือแสดงความเห็นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น ๆ 
英文文章

การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษนั้นยากหรือง่าย?

ในการเรียนภาษาอังกฤษ การเขียนเรียงความนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากในการตรวจสอบพัฒนาการของนักเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านการเขียน ครูผู้สอนมักจะต้องการให้นักเรียนเขียนเรียงความโดยเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ตั้งไว้ การเขียนนั้นจะยากหรือง่าย ส่วนใหญ่แล้วมักจะขึ้นอยู่กับระดับความสนใจที่ผู้เขียนมีต่อหัวข้อนั้น ๆ 

สำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษบางคน การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษนั้นอาจเป็นเรื่องยาก แต่ในปัจจุบันการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษนั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้น เนื่องจากมีการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence (AI) ซึ่งมันทั้งง่ายและสะดวกสบายในการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษเพียงแค่กดปุ่มเพียงครั้งเดียว แต่นอกเหนือจากข้อดีที่กล่าวมานั้น การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นั้นสร้างผลกระทบด้านลบให้กับการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก

ปัญญาประดิษฐ์นั้นมีพลังในการสร้างสรรค์บทความที่น่าสนใน แต่คุณจำเป็นต้องรู้ถึงประเภทของเรียงความชนิดต่าง ๆ เพื่อทำให้คุณมั่นใจว่าเนื้อหาที่ต้องการสื่อนั้นเหมาะสมกับผู้อ่านของคุณ

ส่วนประกอบของเรียงความ

เรียงความในภาษาอังกฤษนั้นประกอบด้วย หัวเรื่อง บทนำ เนื้อความ และบทสรุป โดยนี่คือคำอธิบายในแต่ละส่วนของเรียงความ:

  1. หัวเรื่อง – ส่วนที่จำเป็นต้องดึงดูดความสนใจได้มากที่สุด เพราะเนื่องจากว่าเป็นสิ่งแรกที่ผูอ่านจะเห็นและสร้างความอยากอ่านให้กับเรียงความ
  2. บทนำ – ส่วนของบทนำคือเกริ่นนำเนื้อหาและสิ่งที่จะปรากฏในเรียงความทั้งหมด บางครั้งบทนำอาจเริ่มด้วยการใช้คำถามที่จะถูกอธิบายในส่วนของเนื้อความและให้คำตอบในส่วนของบทสรุป
  3. เนื้อความ – เนื้อความนั้นเป็นส่วนที่หนัก(เยอะ)ที่สุดของเรียงความ เนื่องจากเป็นส่วนที่ผู้เขียนจำเป็นต้องใช้ส่วนนี้ในการอธิบาย แลกเปลี่ยนหรือกล่าวถึงความคิดเห็นของตนเอง พร้อมกับการหยิบยกหลักฐานเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ให้กับสิ่งที่เขียนถึง โดยในเนื้อความนั้นจะประกอบไปด้วย:
    • ทฤษฏี – องค์ความรู้หลักนั้นคือคำเรียกของจุดเด่นและจุดต้องพัฒนาของหัวข้อที่กำลังอ้างถึง ในส่วนนี้ ผู้เขียนจะอธิบายในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในทางบวก หรือสร้างความรู้สึกทางบวกให้กับส่วนที่อ้างถึง และหากจำเป็นจะมีการกล่าวถึงบทความและเอกสารอื่น ๆ ประกอบ
    • โต้แย้งทฤษฎี – จะเป็นด้านตรงกันข้ามของทฤษฎี ในการเขียนส่วนนี้จะเป็นส่วนที่กล่าวถึงด้านลบหรือข้อโต้แย้งที่มีต่อเนื้อหาในส่วนของทฤษฎี และหากจำเป็นต้องมีการยกหรืออ้างถึงหลักฐานประกอบการโต้แย้งดังกล่าว
  4. บทสรุป – โดยปกติแล้วคุณสามารถที่จะหาการตั้งคำถามของผู้เขียนได้ในส่วนของบทนำ และสำหรับคำตอบจะถูกพบในส่วนของบทสรุป โดยปกติแล้วจะเป็นสรุปข้อมูลสำคัญที่ปรากฏในเนื้อความ หรือเป็นการอธิบายผลของทฤษฏีและการโต้แย้งทฤษฎี

เขียนเรียงความภาษาอังกฤษอย่างไรให้ดูน่าสนใจ

เรียงความภาษาอังกฤษนั้นไม่ใช่เพียงแค่การเขียนให้มีบทนำ เนื้อความและบทสรุปก็เพียงพอ การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษที่แสดงความเป็นตัวเองและมีความสุภาพนั้นไม่เพียงต่อการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ มันต้องใช้ความกล้า ความอดทน ความมุ่นมั่น และความเอาใจใส่ในการผลิตงานเขียนที่มีคุณภาพออกมา

การเขียนเรียงความที่ดีนั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์จากหลากหลายแง่มุม และนี่คือสิ่งที่คุณควรพิจารณาระหว่างการเขียน

  1. เลือกหัวข้อที่คุณมั่นใจ
  2. ทำการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและจากหลากหลายแหล่งข้อมูล
  3. ร่างเรียงความโดยคร่าว รวมถึงโครงร่างของหัวข้อย่อย
  4. เลือกหัวเรื่องที่ดึงดูดความสนใจ
  5. ตรวจสอบไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอน อักษรพิมพ์ใหญ่ และการสะกดคำอย่างถี่ถ้วน
  6. ตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างย่อหน้า
  7. เลือกใช้คำศัพท์ที่เหมาะสมกับบริบทของเรียงความและพิจารณาถึงผู้อ่าน
  8. เขียนเนื้อความภาคทฤษฏีให้มีความน่าเชื่อถือและหนักแน่น เช่นเดียวกันกับบทสรุป
  9. ตรวจสอบการลอกเลียนทางวรรณกรรม
  10. อ่านทบทวน เขียนด้วยสำนวนใหม่ และอ่านตรวจเรียงความ รวมไปถึงการมองหาผู้เชี่ยวขาญในการช่วยเหลือขั้นตอนนี้

การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษให้ดูน่าสนใจนั้นเหมือนกันกับท้าทายตนเองในการต่อสู้ บทความภาษาอังกฤษถือเป็นผลงานชิ้นเอกที่สร้างความคิดของผู้เขียนขึ้นใหม่และสื่อสารกับผู้อ่าน การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษที่ดีต้องอาศัยความมุ่งมั่น ความกระตือรือร้น ความใส่ใจในรายละเอียด และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง

พร้อมหรือยังที่จะเริ่มเขียนเรียงความ

英文文章
英文文章

ถ้าหากคุณกำลังเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษ หรืออยู่ในระดับ B2 คุณสามารถเริ่มเขียนเรียงความเป็นภาษาอังกฤษตามหัวข้อและกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการได้ คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักเขียนมืออาชีพก็สามารถเขียนเรียงความที่เป็นภาษาอังกฤษได้ดี เพื่อช่วยให้คุณสามารถเริ่มต้นได้อย่างง่ายมากขึ้น คือหัวข้อที่คุณจำเป็นที่ต้องคุ้นเคยกับมัน

  1. ประสบการณ์ในวันหยุดล่าสุด
  2. อาชีพและการงาน
  3. ประเทศที่เคยเดินทางไปในช่วงฤดูร้อน
  4. สถานที่สวยงามในประเทศของคุณ
  5. สิ่งที่คุณอยากทำในช่วงวันหยุด
  6. การเรียนภาษาอังกฤษ
  7. การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
  8. วิธีการเตรียมอาหารที่คุณชอบ
  9. วิธีการสมัครงาน
  10. สิ่งที่คุณควรพิจารณาเมื่อคุณสมัครงาน
  11. อะไรคือสิ่งที่ควรทำเมื่อเรียนภาษาอังกฤษที่ต่างประเทศ
  12. ภาพยนตร์ที่ชอบ
  13. งานอดิเรกและกิจกรรม
  14. โซเชียลมีเดีย
  15. ประสบการณ์วัยเด็ก
  16. เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  17. งานเทศกาลและงานเฉลิมฉลอง
  18. เป้าหมายที่ตั้งไว้ในชีวิต
  19. คุณเห็นตัวเองในอนาคต 10 ปีอย่างไร
  20. หนังสือและนักเขียนที่ชอบ

เมื่อต้องเลือกหัวข้อสำหรับเรียงความภาษาอังกฤษของคุณ ความเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าคุณจะได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ส่วนตัวหรือคำแนะนำสำหรับผู้อ่าน สิ่งสำคัญคือการเลือกหัวข้อที่ตื่นเต้นและสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ ออกไปเลย กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของคุณ และสร้างเรียงความเป็นภาษาอังกฤษที่จะดึงดูดและดึงดูดผู้อ่านของคุณตั้งแต่ต้นจนจบ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may enjoy these articles

Scroll to Top