İngilizce zamanları öğrenmek

12 กาลในภาษาอังกฤษ

 

เกริ่นนำ

 

คุณเคยสังเกตถึงความแตกต่างระหว่าง “I read a book” และ “I am reading a book” หรืออาจจะ “I watch TV,” “I watched TV,” และ “I will watch TV”? พูดง่ายว่ามันแตกต่าง แต่ยากที่จะวิเคราะห์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาลในประโยค12 กาลในภาษาอังกฤษ

สำหรับนักเรียนภาษาอังกฤษนั้นจะสามารถค้นพบถึงความยากในการเรียนกาลในภาษาอังกฤษ แม้ว่าจะพยายามเต็มที่แล้ว เรามักจะพบว่าบางครั้งเราจะใช้งานผิด เข้าใจผิดแม้ระหว่างการฝึกก็ตาม และเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง

สำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษบางคน กาลในประโยคนั้นไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ หากความหมายที่ต้องการสื่อสาร ผู้รับสามารถเข้าใจได้ตรงกันกับสิ่งที่ต้องการสื่อสาร

อย่างไรก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ดีกว่ามาก หากมีความคุ้นเคยและคุ้นชินกับโครงสร้างประโยคที่ใช้งานได้อย่างถูกกาล (แน่นอนว่ามันทำให้ความหมายและที่ไปที่มาชัดเจนมากขึ้น) 

ในบรรดาองค์ประกอบในประโยค ส่วนของภาคแสดงนั้นเป็นส่วนที่ทำให้เข้าใจได้ยากมากที่สุด เนื่องจากมีหลากหลายสิ่งที่ต้องพิจารณา แน่นอนว่ากาลก็ไม่พ้นไปจากส่วนนี้ แล้วคุณรู้หรือไม่ว่ากาลในประโยคนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในภาษาอังกฤษ เพราะว่ามันทำหน้าที่ในการสร้างและกำกับความหมายให้กับประโยค

อะไรคือกาลในภาษาอังกฤษและทำไมเราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับมัน?

หากอธิบายอย่างสั้น ๆ คือ กาลนั้นทำหน้าที่เป็นแสดงออกถึงเวลาที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นให้กับการกระทำนั้น ๆ ในประโยค โดยกาลหลัก ๆ นั้นจะแบ่งออกเป็นได้สามประเภทคือ อดีตกาล (Past), ปัจจุบันกาล (Present), และ อนาคตกาล (Future) หากคุณต้องการที่จะกล่าวถึงบ้างอย่างที่เกิดขึ้นในอดึต คุณก็ไม่สามารถที่จะใช้กาลในรูปปัจจุบันกาลหรืออนาคตกาลได้ และแน่นอนสำหรับในกรณีกาลอื่น ๆ เช่นเดียวกัน 

อดึตกาลนั้นพูดถึงการกระทำบางอย่างที่จบไปอย่างถาวรแล้วในอดีต เช่น “My father walked to the supermarket yesterday.” ในประโยคนี้คือการแสดงออกว่าการกระทำนั้นได้เกิดขึ้นและจบไปแล้ว

ในปัจจุบันกาลนั้นจะพูดถึงเหตุการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ หรือใช้เพื่อแสดงกิจวัตรและกิจกรรมที่ทำเป็นนิสัยได้ เช่น “He drinks a can of beer before going to bed every night.” ในประโยคนี้ ผู้กระทำกิจกรรมนี้ชอบที่ดื่มและดื่มทุก ๆ คืน

หรือบางครั้งเราอาจจะใช้ปัจจุบันกาลในหัวข้อของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หรือเรื่องที่เป็น”ข้อเท็จจริง” ต่าง ๆ เช่น “Mount Fuji is located in Japan.” ซึ่งตัวอย่างประโยคนี้คือการอ้างถึงข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ บอกถึงที่ทั้งของภูเขาไฟฟูจิ หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ “Jupiter has many moons” ที่เป็นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์

อนาคตกาลคือการพูดเกี่ยวกับการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการแสดงความหมายนั้นจะเป็นแผนหรือการคาดคะเนโดยคร่าวในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะใช้ “will หรือ be going to” เพื่อการระบุว่าเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น“I will visit my friend at the hospital after work today.”  หรือ“My cousin is getting married next month.”

will vs be going to

โดยทั่วไปแล้ว ทั้งสองคำสามารถใช้เพื่อแสดงความเป็นอนาคตกาล แต่มีจุดที่ใช้แตกต่างกันเล็กน้อย คือ “Will” ใช้เพื่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน หรือกระทำที่ไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้า หรือหมายถึงว่าผู้กระทำตัดสินใจที่จะทำกิจนั้นในอนาคตขณะที่สร้างประโยคนี้ ในอีกแง่ “be going to” ใช้เพื่อแสดงออกถึงอนาคตกาลที่มีการคาดเดาและวางแผนไว้ก่อน

ทำไมเราถึงควรที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับกาลในภาษาอังกฤษเป็นสิ่งแรก? เป็นคำถามที่ไม่ยากเลย เพราะว่ากาลในประโยคนั้นทำให้เราสามารถเข้าใจเนื้อหาและความหมายของประโยคได้อย่างชัดเจน หากปราศจากกาลที่ถูกต้องตามบริบท ความหมายของประโยคอาจจะไม่ชัดเจน

英文時態
英文時態

แนะนำกริยาปกติและกริยาอปกติ

กริยามันชวนให้น่าสับสน มีวิธีการผันกริยามากมายให้ถูกต้องถามหลักไวยากรณ์ที่ปรากฏขึ้นในประโยค ในการที่จะทำให้ประโยคของเรานั้นเป็นไปได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์นั้น  การมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานกริยานั้นเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น การใช้กริยาให้ถูกต้องตามบริบท ตามกาลของประโยค จำเป็นต้องเข้าใจเกี่ยวกับกริยาปกติและกริยาอปกติในภาษาอังกฤษ

กริยาปกตินั้นจะมีการผันที่ตรงตัว (ลงท้าย) ไม่ได้มีการเปลี่ยนรูปเมื่อใช้งานในประโยคอดีตกาล เช่น play – played, reach – reached, dance – danced, jog – jogged. โดยส่วนมากแล้วกริยาปกตินั้นจะลงท้ายด้วย “-ed,” และ “-d.” โดยจะขึ้นอยู่กับเสียงพยางค์ลงท้ายว่าเป็นเสียงสระหรือไม่ หรือหากเสียงลงด้วยตัวพยัญชนะและเป็นคำสั้นให้ทำการซ้ำพยัญชนะนั้นก่อนจะเพิ่ม –ed. ต่อท้าย

กริยาอปกติ คือกริยาที่มีผันรูปที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนจากคำเดิม เมื่อใช้ในอดีตกาล หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามีการเปลี่ยนของตัวสะกด เช่น กริยาคำว่า “teach” จะเปลี่ยนเป็น “taught” เมื่อใช้ในอดีตกาล “seek” เปลี่ยนเป็ร “sought,” “buy” เปลี่ยนเป็น “bought,” “write” เปลี่ยนเป็น “wrote” และ  “written”เป็นต้น

กริยาอปกตินั้นจะไม่มีการลงท้ายด้วย –ed หรือ –d เมื่อใช้ในรูปอดีตกาลและใช้งานในฐานะกริยารูปขยายแบบ past participle

นี่คือตัวอย่างของกริยาอปกติที่สามารถพบได้ในบทความนี้

แน่นอนว่ากริยา be “am” ก็เป็นกริยาอปกติเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนรูปเป็น be, was, และ been.

กาลอื่น ๆ ในภาษาอังกฤษ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • Continuous Tenses – แสดงถึงการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ หรืออาจจะเรียกกาลก้าวหน้า กาลต่อเนื่อง
    • Present Continuous – สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและกำลังทำอยู่ในปัจจุบัน
      ตัวอย่าง: I am studying English.
    • Past Continuous – สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งในอดีต (กำลังทำอยู่ในอดีต – เหตุการณ์ได้จบไปแล้ว)
      ตัวอย่าง: He was reading a text message when his mom called.

       

       

    • Future Continuous – สิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต (ยังไม่เกิดแต่คิดว่าจะทำ โดยมีเวลาชัดเจน)
      ตัวอย่าง: I will be traveling to New York at 4:00 this afternoon.

       

       

  • Perfect Tenses – กาลนี้จะเป็นการกล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตแต่มีการเชื่อมต่อกับช่วงเวลาอื่น ๆ 
    • Present Perfect – สิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วในอดีตแต่ยังเชื่อมต่อกับปัจจุบัน
      ตัวอย่าง: The manager has arrived in the office.
    • Past Perfect – สิ่งที่เกิดขึ้นและะดำเนินมาช่วงระยะเวลาหนึ่งและจบลงไปแล้ว
      ตัวอย่าง: Mr. Wellington had distributed relief goods during his administration.
    • Future Perfect – สิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
      ตัวอย่าง: I will have finished my report by 10:00 PM tomorrow.

       

       

  • Perfect Progressive Tenses – กาลนี้นั้นจะเป็นการกล่าวถึงกิจกรรมหรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตแต่ยังคงดำเนินมาจนถึงปัจจุบันและยังคงดำเนินต่อไป
    • Present Perfect Progressive – การกระทำที่ยังคงทำอยู่ในปัจจุบัน
      ตัวอย่าง: I have been taking pain relievers.
    • Past Perfect Progressive – แสดงการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตและจบลงเนื่องจากมีเหตุการณ์ในอดีตอีกเหตุการณ์เกิดขึ้น
      ตัวอย่าง: They had been receiving spam calls for five consecutive days before reporting it to the police.
    • Future Perfect Progressive – อ้างถึงการกระทำที่กำลังทำอยู่ โดยมีจุดสิ้นสุดของการกระทำเป็นเวลาที่เฉพาะเจาะจงในอนาคต
      ตัวอย่าง: My cousin will have been living in Taipei for ten years by the end of next Spring.
英文時態

ทำไมจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกาลในภาษาอังกฤษ

กาลในภาษาอังกฤษคือสิ่งที่ชวนสับสนสำหรับนักเรียนภาษาอังกฤษ กาลในภาษาอังกฤษนั้นเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดช่วงระยะเวลาที่เกิดขึ้นของกิจกรรมหรือการกระทำที่อ้างถึงในประโยค และนี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกาลในภาษาอังกฤษ

  1. ในแต่ละกาลจะมีโครงสร้างทางประโยคและการใช้งานที่แตกต่างกันเพื่อสร้างความหมายให้กับประโยค
  2. ในแต่ละกาลจะสร้างความหมายที่แตกต่างกันออกไป
  3. กาลในภาษาอังกฤษจะระบุเส้นเวลาที่ชัดเจน

อดีตกาล (Past tense)

 

12 กาลในภาษาอังกฤษ

 ปัจจุบันกาล (Present tense)

 

12 กาลในภาษาอังกฤษ

           

อนาคตกาล (Future tense)

 

12 กาลในภาษาอังกฤษ

  1. กริยาในอดีตกสลนั้นจะมีความแตกต่างและมีความหลากหลายมากโดยขึ้นอยู่กับว่ามันเป็นกริยาปกติหรือกริยาอปกติ
  2. อย่าสับสนเกี่ยวกับการใช้งาน “will” และ “be going to” สำหรับประโยคอนาคตกาล เพราะ “will” จะใช้สำหรับการตัดสินใจที่เกิดใน ณ ขณะนั้นหรือไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า แต่ “be going to” ใช้สำหรับสิ่งที่คาดเดาหรือวางแผนไว้แล้ว
  3. Tอดีตกาล ปัจจุบันกาล และอนาคตกาลในภาษาอังกฤษนั้นมีกาลย่อย เช่น กาลต่อเนื่อง (continuous) หรือ progressive tenses, กาลสมบูรณ์ (perfect tenses), และ อนาคตกาลสมบูรณ์ต่อเนื่อง (perfect progressive tenses)
  4. กริยา Be,  กริยาช่วย-ที่สามารถเป็นกริยาหลักได้ (auxiliary verbs) และ กริยาช่วย-ไม่สามารถขาดกริยาหลักได้(modal verbs) มักจะถูกใช้บ่อยในประโยคที่อยู่ในปัจจุบันกาล
  5. กาลสมบูรณ์ในภาษาอังกฤษนั้นมักจะใช้กริยารูปขยาย-หรือที่รู้จักกันในฐานะกริยาช่องที่ 3 (past participles) regardless if it is present, past, or future.
  6. นักเรียนบางคนอาจจะใช้งานประโยคในภาษาอังกฤษโดยไม่มีการตระหนักถึงการใช้งานกาลในภาษาอังกฤษอย่างถูกต้อง
  7. ปัจจุบันกาลและปัจจุบันกาลต่อเนื่องในภาษาอังกฤษนั้น มักจะสามารถใช้งานสลับกันได้โดยยังคงความหมายเดิม เช่น “I am reading a book” or “I read a book.”
  8. กาลธรรมดานั้นใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นประจำในขณะที่กาลต่อเนื่องใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งคราว
  9. มีสิ่งที่ชวนให้สับสนมากมายกับผู้เรียนภาษาอังกฤษเมื่อเจอกับประโยคที่เป็นมีการระบุถึงความเป็นเอกพจน์และพหูพจน์ บางครั้งความสัมพันธ์ระหว่างประธานและกริยานั้นไม่สัมพันธ์กัน เช่น “He bring the book,” หรือ “We uses the computer.
  10. นักเรียนอาจจะพูดถึงอดีตโดยการใช้ประโยคปัจจุบันกาล ตัวอย่างเช่น “I am a dancer during my elementary days.”
  11. กริยาอปกตินั้นบางครั้งจะถูกใช้อย่างผิด ๆ  เช่น  “drunk – drunked” or “think – thinked.”
  12. ประโยคที่มีการใช้งานกาลอย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น จะสามารถทำให้ความหมายที่ประโยคต้องการสื่อนั้น สามารถสื่อสารได้ชัดเจนและง่ายต่อการทำความเข้าใจ

กาลในภาษาอังกฤษนั้นชวนให้ผู้ใช้สับสน แต่มันสามารถทำให้ประโยคนั้นมีความหมายที่ชัดเจน การใช้งานกาลในภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องจะทำให้ความหมายในประโยคของคุณสามารถสื่อสารได้อย่างตรงข้ามต้องการ การอ้างอิงถึงเส้นเวลาจะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับกาลแต่กาลที่มากขึ้น และแน่นอนว่าการเข้าใจเกี่ยวกับกาลจะทำให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษทุกคนสามารถที่จะพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษได้อย่างก้าวกระโดด

ทำไมกาลถึงสำคัญ?

การเรียนเกี่ยวกับกาลในภาษาอังกฤษเหมือนกับสิ่งท้าทาย แต่มันคือสิ่งที่จะสามารถทำให้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น กาลแต่ละกาลเหมือนกับการท่องเวลา ที่ทำให้คุณสามารถอธิบายถึงบางสิ่งบางอย่างและการกระทำที่เกิดขึ้นในเวลาที่ชัดเจนมากขึ้น 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top