ปัจจัยหลังคำ (Suffixes) ที่พบได้บ่อย?​

ปัจจัยหลังคำ (Suffixes) ที่พบได้บ่อย?

บทนำ

ปัจจัยหลังคำเป็นส่วนที่สำคัญของภาษาอังกฤษ เนื่องจากมันมีความสามารถในการสร้างผลกระทบให้กับความหมายและประเภทของคำที่มันต่อท้าย โดยการที่แนบมันไปที่ส่วนท้ายของรากคำศัพท์ ปัจจัยหลังคำนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนกาล หน้าที่ หรือความหมายของคำออกไปจากเดิม-จากรากคำศัพท์ การมีความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยหลังคำที่อาจพบได้บ่อยในภาษาอังกฤษนี้จะช่วยให้คุณสามารถพัฒนาทักษะโดยภาพร่วมรวมไปถึงการทำให้ทักษะการสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมื่อไรก็ตามที่พูดถึงความเข้าใจในภาษาอังกฤษ การเข้าใจถึงแนวคิดของปัจจัยหลังคำ สิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้มีพลังในการกำหนดประเภทของคำและช่วยสร้างความหมายที่หลากหลายมากขึ้น แล้วอะไรคือปัจจัยหลังคำที่พบได้บ่อย และมันจะช่วยให้สามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้อย่างไร? มาเจาะลึกการเดินทางทางภาษาอันน่าทึ่งนี้และค้นพบความลับเบื้องหลังโครงสร้างทางภาษาเหล่านี้กัน

ปัจจัยหลังคำในภาษาอังกฤษคืออะไร?

ก่อนที่เราจะไปค้นหาถึงตัวอย่างของปัจจัยหลังคำที่เฉพาะเจาะจง เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราจำเป็นจะต้องเข้าใจก่อนว่าปัจจัยหลังคำคืออะไร และทำหน้าที่อะไร ปัจจัยหลังคำคือกลุ่มของตัวอักษรที่ถูกเติมเจ้าไปหลังคำนั้น ๆ เพื่อทำหน้าที่เปลี่ยนความหมายหรือรูปร่างของคำให้กลายเป็นคำใหม่ การเพิ่มปัจจัยหลังคำเข้าไปที่คำศัพท์ตั้งต้นนั้นสามารถทำให้เราเปลี่ยนแปลงไวยากรณ์หรือถ่ายทอดในความหมายที่แตกต่างกันออกไปได้

ปัจจัยหลังคำในภาษาอังกฤษ สามารถใช้ระบุ กริยากาล สร้าง คำคุณศัพท์ หรือเปลี่ยนจากคำเอกพจน์กลายเป็นพหูพจน์ การรู้ถึงปัจจัยหลังคำที่พบได้บ่อย จะทำให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษนั้นสามารถเข้าใจโครงสร้างประโยคและหน้าที่ของคำในภาษาอังกฤษได้ดีมากขึ้น

ทำความเข้าใจกับปัจจัยหลังคำที่พบได้บ่อยในภาษาอังกฤษ

การทำความเข้าใจปัจจัยหลังคำที่พบได้บ่อยในภาษาอังกฤษนั้นสิ่งสำคัญที่ด้วยเหตุผลหลายประการ สิ่งแรกคือมันสามารถช่วยให้เราสามารถเดาควาหมายของคำศัพท์ที่เราไม่คุ้นได้ด้วยการพิจารณาจากรากศัพท์และปัจจัยหลังคำ นี่คือทักษะที่จำเป็นมากสำหรับการอ่านบทความหรือเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ 

สองคือ การรู้ปัจจัยหลังคำที่พบได้บ่อยนั้นจะช่วยให้การเข้าใจและการสื่อสารภาษาอังกฤษนั้นเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น โดยสามารถที่จะวิเคราะห์คำศัพท์(อนุมานความหมาย)ผ่านปัจจัยหลังคำแม้ว่าจะเป็นคำศัพท์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนก็ตาม ด้วยทักษะนี้ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้สามารถที่จะเพิ่มพูนทักษะการอ่านและการทำความเข้าใจภาษาอังกฤษได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น

ปัจจัยหลังคำที่พบได้บ่อยและวิธีการใช้งาน

เพื่อนำคุณไปทำความเข้าใจเบื้องหลังที่ซับซ้อนของภาษาอังกฤษ ลองใช้เวลาในการศึกษาผลกระทบที่มาจากปัจจัยหลังคำ ด้านล่างนี้เราจะพาคุณไปพบกับปัจจัยหลังคำที่พบได้บ่อยในภาษาอังกฤษว่าพวกมันถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร และทำหน้าที่อะไรในประโยค

  1. –able – Tนี่คือปัจจัยหลังคำที่สามารถสร้างคำคุณศัพท์ (adjectives) ที่ใช้สำหรับการกล่าวถึงความสามารถในการทำสิ่งนั้น ๆ  เช่น คำว่า comfortable มาจากรากศัพท์ “comfort” ที่เป็นคำนาม เมื่อเราใส่ปัจจัยหลังคำอย่าง “-able” ต่อท้ายจนกลายเป็นคำว่า “comfortable” ที่เป็นคำคุณศัพท์ และนี่คือตัวอย่างอื่น ๆ :

Approach – approachable
Remark – remarkable
Consider – considerable
Reason – reasonable
Sustain – sustainable

คำศัพท์บางคำที่ลงท้ายด้วยตัวอักษรอย่าง “y,” “e,” และ “ive” จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปเมื่อเพิ่มปัจจัยหลังคำ –able เข้าไป โดย“y” หรือ “e”จะถูกนำออกหรือเปลี่ยนเป็น “i” ก่อนเพิ่ม –able อ้างอิงได้จากตัวอย่างด้านล่าง:

Deny – deniable
Justify – justifiable
Rely – reliable
Vary – variable

Forgive – forgivable
Receive – receivable
Adore – adorable
Believe – Believable
Note – notable
Inflate – inflatable

บางคำศัพท์ที่ลงท้ายด้วย “e” นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องนำ e ออกก็สามารถเพิ่ม able เข้าไปเพื่อเปลี่ยนเป็นคำคุณศัพท์ได้ เช่น:

Manage – manageable
Change – changeable
Agree – agreeable
Hire 
– hireable

หมายเหตุ หากคำศัพท์ลงท้ายด้วย “t” หรือ “p” และนำหน้าด้วยเสียงสระ เมื่อใส่ปัจจัยหลังคำ –able ให้ทำการซ้ำตัวอักษรด้วย เช่น:

Forget – forgettable
Stop – stoppable

  1. –ible – เป็นปัจจัยหลังคำที่เหมือนกับปัจจัยหลังคำอย่าง –able ที่ใช้เพื่อแสดงออกถึงความเป็นได้ ตัวอย่างเช่น:

Destruct – destructible
Convert – convertible
Resist – resistible
Access – accessible

ข้อสังเกต คำที่มีปัจจัยหลังคำอย่าง –ible มักจะมีพยัญชนะลงท้ายสองตัว 

  1. –ful – นี่คือปัจจัยหลังคำที่พบได้บ่อยเพื่อใช้เปลี่ยนคำนามเป็นคำคุณศัพท์ เมื่อเพิ่มเข้ากับคำนามโดยเฉพาะที่ลงท้ายด้วยตัวอักษร “y” ที่นำหน้าด้วยพยัญชนะ ตัว y จะถูกละทิ้งและเปลี่ยนเป็น “i”

Beauty (n) – beautiful
Bounty (n) – bountiful
Duty (n) – dutiful

หากคำที่ลงท้ายด้วย “y” มีเสียงหรือสระก่อนหน้า ให้คง “y” ไว้แล้วเติมปัจจัยหลังคำ –ful ลงที่หลังคำ

Play – playful
Joy – joyful

สำหรับคำศัพท์ทั่วไปไม่ว่าจะลงท้ายด้วยพยัญชนะหรือสระ สามารถที่จะเติมปัจจัยหลังคำ –ful ได้เลย

Cheer – cheerful
Peace – peaceful
Care – careful
Grace – graceful
Power – powerful
Thought – thoughtful
Harm – harmful
Faith – faithful

  1. –less – ปัจจัยหลังคำ “less” นี่ปัจจัยหลังคำที่มีความหมายตรงข้ามกับ “ful” และสื่อถึงความหมายเชิงลบ ปัจจัยหลังคำ -less นั้นจะเพิ่มต่อหลังคำนามและเสริมความหมายให้เป็นการขาดบางสิ่งบางอย่าง ตัวอย่างเช่น “careless” นั้นหมายถึงการขาดความเอาใจใส่ (care) และ “fearless” นั้นหมายถึงการขาดความกลัว

และนี่คือตัวอย่างของคำศัพท์ที่มี –less เป็นปัจจัยหลังคำ

Point – pointless – ไม่มีสาระ
Power – powerless – ไม่มีพลัง
Harm – harmless – ไม่มีอันตราย
Speech – speechless – ไม่สามารถพูดอะไรได้
Wire – wireless – ไม่จำเป็นต้องใช้ “สาย” ในการเชื่อมต่อ

  1. –ly – ปัจจัยหลังคำ “-ly” เป็นปัจจัยหลังคำที่พบได้บ่อยในการเปลี่ยน คำคุณศัพท์ (adjectives) ให้กลายเป็นกริยาวิเศษณ์ (adverbs) ตัวอย่างเช่น “quick” กลายเป็น “quickly” ที่หมายถึงการทำอะไรบางอย่างด้วยความเร็ว โดยที่ปัจจัยหลังคำนี้มักจะแสดงหรือเกี่ยวข้องกับ ลักษณะ เวลา สถานที่ หรือระดับขั้น

คำคุณศัพท์ (adjectives) ที่ลงท้ายด้วยปัจจัยหลังคำอย่าง –ful สามารถที่จะเพิ่ม –ly เป็นปัจจัยหลังคำเพื่อเปลี่ยนรูปเป็นกริยาวิเศษณ์ (adverb) ได้ ตัวอย่างเช่น คำว่า “graceful” กลายเป็น “gracefully,” คำว่า “painful” กลายเป็น “painfully,” และ “joyful” กลายเป็น “joyfully”.

  1. –ment – เป็นปัจจัยหลังคำที่พบเจอได้บ่อยในภาษาอังกฤษและมีความหมายไปทางบวก หมายถึงสถานะหรือผลลัพธ์ของสิ่งนั้น ๆ

ตัวอย่างเช่น “enjoy” เปลี่ยนรูปเป็น “enjoyment,” จะมีความหมายว่าสภาวะของการค้นหาความเพลิดเพลินหรือความยินดีในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ปัจจัยหลังคำนี้ มันจะพบได้กับคำที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกหรือเกี่ยวข้องกับประสบการณ์

ตัวอย่างอื่น ๆ :

Develop – development
Enhance – enhancement
Better – betterment
Achieve – achievement
Disappoint – disappointment

สำหรับคำศัพท์ที่ลงท้ายด้วย “y” และก่อนหน้าเป็นพยัญชนะ ให้ทำการละ “y” ทิ้งก่อนค่อยใส่ –ment. เป็นปัจจัยหลังคำ ตัวอย่างเช่นคำว่า  “accompany” จะเปลี่ยนรูปเป็น “accompaniment.” สำหรับคำศัพท์ที่ลงท้ายด้วย “y” แต่มีสระนำหน้าไม่ต้องละ “y” ทิ้ง เช่น“employ” เปลี่ยนรูปเป็น “employment.”

  1. –ation – ปัจจัยหลังคำ “-tion” คือปัจจัยท้ายทำที่มีหน้าที่เปลี่ยกริยาให้กลายเป็นคำนาม ตัวอย่างเช่น “imagine” เปลี่ยนรูปเป็น “imagination,” ซึ่งการเพิ่มปัจจัยหลังคำนี้จะมีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเสียงหรือพยัญชนะก่อนหน้า

เช่น คำว่า “imagine” ที่ลงท้ายด้วย “e” ซึ่งจำเป็นต้องละ “e” ทิ้งแล้วจึงค่อยเติมปัจจัยหลังคำเป็น “imagination.” ซึ่งหมายถึง คำที่ลงท้ายด้วย “e” ก่อนเพิ่มปัจจัยหลังคำ –ation ลงไป

เพิ่มเติม รากคำศัพท์ส่วนใหญ่ที่มีการใช้ปัจจัยหลังคำนี้มักจะลงท้ายด้วย “ate.” เช่นตัวอย่างด้านล่างพร้อมรูปคำแบบเติมปัจจัยหลังคำ

Donate – donation
Decorate – decoration
Demonstrate – demonstration
Animate – animation
Fluctuate – fluctuation
Abbreviate – abbreviation

  1. –ing – เป็นปัจจัยหลังคำที่ใส่ต่อหลังคำกริยาเพื่อทำให้คำนั้นเปลี่ยนกาลของคำให้แสดงถึงความต่อเนื่อง โดยความหมายส่วนใหญ่นั้นจะหมายถึงการกระทำที่กำลังทำอยู่ชั่วคราวและในขณะนั้น

โดยปกติแล้วกริยาทั่วไปที่ลงท้ายด้วย –ing จะแสดงถึงกาลที่มีความต่อเนื่อง เช่น

Meet – meeting
Talk – talking
Play – playing
Greet – greeting
Bow – bowing
Tell – telling
Speak – speaking
Sleep – sleeping
Need – needing
Stand – standing

กริยาบางคำที่ลงท้ายด้วย “e” แบบทั้งออกเสียงหรือละเสียง “e” จำเป็นต้องละ “e” ก่อนจึงค่อยเติม “ing.”

Dance – dancing
Ride –riding
Shake – shaking
Take – taking
Dine – dining

กริยาบางคำที่ลงท้ายด้วยด้วยพยัญชนะและอยู่ติดสระให้ซ้ำพยัญชนะตัวนั้นก่อนเติม “ing.”

Swim – swimming
Sit – sitting
Run – running
Jog – jogging
Hop – hopping
Chat – chatting

  1. –ive – ปัจจัยหลังคำนี้จะทำให้ความหมายของคำนั้นมีความหมายที่ชัดเจนมากขึ้น โดยจะทำหน้าที่เปลี่ยนคำนามหรือคำกริยาให้กลายเป็นคำคุณศัพท์หรือคำนาม เช่นคำว่า  “Product” ที่เป็นคำนามเมื่อเพิ่ม –ive เป็นปัจจัยหลังคำจะเปลี่ยนรูปเป็นคำว่า “productive” ที่เป็นคำคุณศัพท์ และนี่คือตัวอย่างอื่น ๆ :

Secret – secretive
Effect – effective
Object – objective
Act – active
Attract – attractive
Select – selective
Express – expressive

สำหรับคำกริยาอื่น ๆ ที่ลงด้วย “ate” และ “e” จำเป็นต้องละ “e” ทิ้งก่อนเพิ่ม –ive เป็นปัจจับหลังคำ

Relate – relative
Decorate – decorative
Create – creative
Alternate – alternative
Impulse – impulsive
Purpose – purposive

  1. –ity – ปัจจัยหลังคำ “ity” มีหน้าที่ทำให้กริยาวิเศษณ์หรือกริยานั้นเปลี่ยนรูปและความหมายเป็นคำนาม เช่นคำศัพท์ “continue” ที่เป็นคำนามที่ลงด้วย “e.” ในการเปลี่ยนนรูปให้เป็นคำนามนั้น ให้ละ “e” ก่อนจะเติม –ity เป็นปัจจัยหลังคำ จะได้คำว่า “continuity.” และนี่คือตัวอย่างคำอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน:

Productive – productivity
Connective – connectivity
Rare – rarity

สำหรับคำศัพท์ทั่วไป สามารถที่จะ –ity เป็นปัจจัยหลังคำได้ทันที เช่น:

Inferior – inferiority
Superior – superiority
Complex – complexity
Prosper – prosperity

คำศัพท์บางคำที่ลงท้ายด้วยปัจจับหลังคำอื่นเช่น “-able” สามารถที่จะเพิ่ม “-ity” เป็นปัจจัยหลังคำได้ แต่ให้ละ “le” ทิ้งก่อนเพิ่ม –ity.

Probable – probability
Impossible – impossibility
Vulnerable – vulnerability
Portable – portability

ปัจจัยหลังคำที่พบทั่วไปในภาษาอังกฤษนั้นถือเป็นรากฐานสำคัญในการเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ เมื่อเข้าใจปัจจัยหลังคำเหล่านี้ จะช่วยให้คุณสามารถขยายคลังคำศัพท์ เพิ่มพูนทักษะการอ่านและการเขียน รวมไปถึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของคำที่มากขึ้น

สรุป

ความเข้าใจในปัจจัยหลังคำนั้นทำหน้าที่เป็นรากฐานของความคิดสร้างสรรค์ทางภาษา ช่วยให้คุณที่รับบทเป็นวิทยากรหรือนักเขียนสามารถสร้างพรมแห่งการแสดงออกที่หลากหลายและมีความลุ่มรวยทางภาษาที่มากขึ้น

เพราะฉะนั้น ในครั้งถักไปเมื่อคุณเจอกับคำศัพท์คำใหม่ ๆ ที่มีปัจจัยหลังคำเหล่านี้อยู่ ลองหยุดพักและมองหารากศัพท์ที่ถูกเปลี่ยนรูปไปโดยปัจจัยหลังคำเหล่านั้น! และดื่มด่ำไปกับความลุ่มรวยทางภาษาที่เกิดขึ้น!

Top TH