5 เทคนิคพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ​

5 เทคนิคพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

สารบัญ

ภาพรวม

การเขียนนั้นเป็นทักษะเหนือกาลเวลาที่ช่วยให้สามารถแสดงความคิด ความสร้างสรรค์และอารมณ์ผ่านพลังของตัวอักษรและเนื้อความ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเขียนชำนาญการ หรือรุ่นใหม่ผู้มีไฟแห่งการสร้างสรรค์ การขัดเกลาทักษะการเขียนของคุณคือเส้นทางของการพัฒนาและการเติบโตที่ไม่มีที่สิ้นสุด และแน่นอนว่าทักษะด้านภาษาอังกฤษของคุณจะเป็นตัวกำหนดว่าคุณมีความสามารถด้านการเขียนมากน้อยแค่ไหน

คุณกำลังสนใจที่จะริเริ่มหรือหลงไหลในการเขียนหรือไม่? บ่อยแค่ไหนที่คุณเริ่มลงมือขีดเขียนตัวอักษร? และเพื่อให้มันเป็นงานเขียนที่สมบูรณ์แบบ คุณควรที่ตระหนึกถึงประเภทของเนื้อความในงานเขียนที่คุณกำลังสนใจ งานเขียนนั้นมีหลายประเภทและบางประเภทนั้นมีกฏเกณฑ์ในการสร้างสรรค์ที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมักใช้ทักษะการเขียนของคุณไปกับการเขียนอีเมลที่ใช้สำหรับการติดต่อในแวดวงการทำงาน คุณจำเป็นต้องมั่นใจว่ารูปแบบการเขียนของคุณนั้นปฏิบัติตามแนวทางมาตราฐานในเรื่องความถูกต้องและมีแบบแผนที่ชัดเจน

ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น เมื่อคุณกำลังเขียนชิ้นงานที่เป็นบทความหรือมีเนื้อความในทางวิชาการ เช่น การเขียนวิทยานิพนธ์หรือการเขียนรายงานการค้นคว้า มันมีรูปแบบทางการหลายรูปแบบที่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม ไม่วาจะเป็น MLA และ APA หรือหากคุณกำลังเขียนบทความสักบทความ แม้จะไม่มีกฏเกณฑ์อย่างตายตัว แต่เนื้อหาของบทความนั้นจำเป็นต้องดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้มากเพียงพอ

หรือหากคุณมีความสนใจเกี่ยวกับวรรณกรรม คุณจำเป็นต้องจับจุดความสนใจของผู้อ่านได้อย่างอยู่มัดผ่านทุก ๆ ตัวอักษร และทุก ๆ ความต่อเนื่องของเรื่องราว หลังจากสิ่งเหล่านั้น เป้าหมายของคุณคือกลายเป็นนักเขียนที่สามารถดึงดูดพวกเขา เหล่านักอ่านได้ทุกบรรทัดที่ถักทอจนกลายเป็นผลงานชิ้นเองของคุณ

5 ประเภทของงานเขียนที่พบได้บ่อย

คุณจำเป็นต้องทราบถึงประเภทของงานเขียนเพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่า ประเภทไหนจะเป็นตัวเลือกในการสร้างสรรค์งานเขียนที่เหมาะสมสำหรับคุณ เมื่อคุณทราบสิ่งเหล่านี้ ก็จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณแล้วที่จะพัฒนาทักษะด้านการเขียนของคุณ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเขียนที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษ) นี่คือสิ่งที่เรารวบรวมมา 5 ประเภทของงานเขียนที่พบได้บ่อย และคุณสามารถนำมันไปอ้างอิงในการประกอบการตัดสินใจของคุณ

  1. งานเขียนเชิงวิชาการ (Academic Writing)

    – นี่คืองานเขียนประเภทสารคดี (หรือเนื้อความที่ไม่มีการเสริมแต่ง) ที่เขียนขึ้นโดยใช้มาตราฐานอ้างอิงไปตามขอบเขตของเนื้อหาที่เขียนในแต่ละสาขาวิชา โดยงานเขียนประเภทนี้จำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางของรูปแบบการเขียนและเนื้อหาจำเป็นต้องมีความพร้อมด้านเหตุและผล สร้างความประจักษ์พร้อมด้วยหลักฐานสนับสนุนในเนื้อความ เช่น การเขียนวิทยานิพนธ์ ชีวประวัติ รายการการค้นคว้า และการอ้างอิงวรรณกรรม

  1. งานเขียนที่ใช้สำหรับการทำงาน (Business Writing)

    – งานเขียนประเภทนี้นั้นเป็นการเขียนที่จำเป็นต้องแสดงออกถึงความเป็นมืออาชีพ เป็นงานเขียนที่เขียนขึ้นเพื่อชี้แจงข้อมูล (ที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง) ไปให้กับกับผู้อ่านที่ต้องข้อมูลเหล่านั้น – มักพบได้ในสังคมการทำงานทุกสาขา โดยการเขียนชิ้นงานประเภทนี้จำเป็นต้องเขียนให้มีความกระชับ ชัดเจน และสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่าน ตัวอย่างเช่น การเขียนรายงานสรุปผล จดหมายสมัคร(งาน) บันทึกช่วยจำ อีเมล หรือโครงร่างธุรกิจ

    การเขียนเนื้อความที่ใช้ในการทำงานให้ที่มีประสิทธิภาพนั้นคือหนทางของการสื่อสารที่ดีที่สุดสำหรับการทำงาน

  1. งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative Writing)

    – ประเภทงานเขียนนี้จะมุ่นเน้นไปที่ความสร้างสรรค์และจินตนาการของผู้เขียนเป็นหลัก ไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวในการเขียนสำหรับงานเขียนประเภทนี้ นักเขียนสามารถที่จะบรรยายความรู้สึก เหตุการณ์ของเรื่องราวผ่านตัวอักษรและเนือความที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและสร้างความประทับใจให้กับพวกเขา เช่น การเขียนบทกวี การเขียนเรื่องสั้น หรือการเขียนวรรณกรรม/นวนิยาย

  1. งานเขียนบทอินเตอร์เน็ต (Content Writing)

    – งานเขียนบทอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นการเขียนเพื่อนำเสนอความคิดและข้อมูลบางอย่างที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น การเขียนบทความ หรือการเขียนบล็อค หรือการเขียนเชิงการตลาด นักเขียนจำเป็นต้องเขียนงานที่มีความชัดเจนของเนื้อหาและกระชับเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

  1. งานเขียนเชิงเทคนิค (Technical Writing)

    – งานเขียนเชิงเทคนิคเป็นงานเขียนที่จะนำเสนอข้อมูลที่มีความเฉพาะทางค่อนข้างสูงแก่ผู้อ่าน งานเขียนประเภทนี้นั้นจะพบได้บ่อยในแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม หรือการแพทย์ ทำให้เนื้อความจำเป็นต้องมีความถูกต้องในทุกตัวอักษร

ประเภทของงานเขียนที่ได้กล่าวขึ้นในย่อหน้าข้างตนนั้นเป็นเพียงตัวอย่างเพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาทักษะการเขียนของคุณให้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น หากคุณสนใจในการเขียนอย่างจริงจังแล้ว นอกเนื้อความที่จำเป็นต้องมีความชัดเจน เป้าหมายของคุณก็ควรชัดเจนเช่นเดียวกัน 

5 เทคนิคพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ


คุณพร้อมที่จะเริ่มเขียนงานชิ้นแรกของคุณแล้วหรือยัง?

ในบทความนี้ แน่นอนว่าเราะขอพาคุณไปค้นพบ 5 เทคนิคที่จะช่วยให้คุณสามารถพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของคุณพพร้อม ๆ ไปกับการสร้างความประทับใจให้กับผู้อ่าน

  1. อ่านบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นประจำ.

การอ่านนั้นเป็นเชื้อเพลิงสำคัญสำหรับเติมเชื้อไฟให้กับการเขียน สำหรับผู้ที่สนใจการเขียนแล้ว การนำตนเองไปสำรวจความหลากหลายของวัฒนกรรมที่ครอบคลุมแนวทางและประเภทที่หลากหลายนั้น ไม่เพียงช่วยให้คุณเข้าใจความต่างของแนวทางแต่ยังช่วยให้คุณมีแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้นเป็นทั่วตัว

ดื่มด่ำไปกับผลงานที่มีชื่อเสียงและวิเคราะห์แนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทความภาษาอังกฤษที่ไม่เพียงช่วยให้คุณพัฒนาและได้รับแรงบันดาลใจแต่ยังพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษของคุณเองไปพร้อม ๆ กัน

  1. สร้างกิจวัตร

ความสม่ำเสมอในการพัฒนาตนเองนั้นเป็นรากฐานของการเชี่ยวชาญด้านการเขียน การสร้างกิจวัตรทางด้ารการเขียนที่สม่ำเสมอนั้นจะช่วยให้งานเขียนของคุณนั้นมีความคืบหน้าและไม่ถูกเร่งรัดจนเสียเนื้อความบางส่วนไป ทั้งยังทำให้คุณสามารถให้ความสนใจไปกับเนื้อความทั้งในด้านความถูกต้องและความสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนในช่วงเช้า ช่วงกลางดึก ลองหาเวลาที่จะทำให้คุณสามารถเขียนงานออกมาได้ดีที่สุดและลองเริ่มทำกิจวัตรดู!

การสร้างกิจวัตรในการเขียนนั้นไม่เพียงจะช่วยให้พัฒนาประสิทธิภาพของงานเขียน แต่ยังพัฒนาวินัยที่ถือเป็นสิ่งสำคัญของผู้เขียนทุกคนที่มีจุดหมายในการสร้างงานเขียนที่สร้างควาประทับใจให้กับผู้อ่าน

  1. อย่ากังวลกับการแก้ไขที่จะเกิดขึ้น

การแก้ไขนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการเขียน การที่คุณจะทำให้งานเขียนของคุณสำเร็จเป็นรูปร่างที่สมบูณ์แบบได้ คุณจำเป็นต้องมีฉบับร่างจำนวนมหาศาลที่ผ่านการแก้ไขจนกลายเป็นชิ้นงานที่ดีที่สุด บางครั้ง บางความคิดที่โลดแล่นเข้ามานั้นอาจจะทำให้คุณเปลี่ยนเนื้อความของคุณไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ดีมากขึ้น การแก้ไขงานเขียนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทักษะของคุณ โดยเฉพาะการเขียนในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ไม่ต้องกังวลไป เมื่อมีจุดที่ต้องแก้ไขหมายถึงว่าการเขียนของคุณพัฒนาขึ้นไปจากการเขียนครั้งก่อน และการแก้ไขจะทำให้คุณกลายเป็นนักเรียนที่สร้างความประทับใจให้กับผู้อ่านในทุกตัวอักษร

  1. ค้นคว้าเกี่ยวกับวิธีการสร้างเนื้อความที่ดี

ทุก ๆ ประเภทกาารเขียนที่คุณกำลังสนใจอยู่นั้น คุณสามารถที่จะสร้างเนื้อความที่ดีได้ การค้นคว้าและการอ่านเพิ่มเติมนั้นเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน การค้นคว้านั้นเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณอ่าน และการอ่านเกิดขึ้นตอนที่คุณเริ่มค้นคว้า และแน่นอนว่าทั้งสองสิ่งคือสิ่งวิธีที่สำคัญมาก ๆ ในการพัฒนาทักษะการเขียนของในทุก ๆ ประเภทของเนื้อความ การทำสิ่งเหล่านี้ จะทำให้คุณสามารถพัฒนาภาษาอังกฤษในด้านการเขียนได้ตลอดเวลา

ควบคู่ไปกับการค้นคว้าของคุณ การใช้ไวยากรณ์ให้ถูกต้อง การใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ หรือการใช้เครื่องหมายวรรคตอน พยายามอย่าใช้เครื่องมือในการตรวจสอบความถูกต้องของไวยากรณ์จนเป็นนิสัย จะเป็นการณ์ดีกว่าหากคุณสามารถใช้ไวยากรณ์และเครื่องหมายวรรคตอนได้ด้วยตัวคุณเอง 

  1. มองหาผู้ให้คำแนะนำและคำแนะนำที่สร้างสรรค์

สิ่งที่ดีที่สุดเมื่อคุณเริ่มต้นที่จะเขียนอะไรสักอย่างเป็นภาษาอังกฤษคือการสอบถามหรือขอคำแนะนำกับนักเรียนผู้มีประสบการณ์ คุณสามารถที่จะแบ่งปันฉบับร่างของงานเขียนให้กับพวกเขา และถามถึงสิ่งที่ควรจะต้องพัฒนาและสิ่งที่ควรนำมันออกไป คำแนะนำจะกลายเป็นเครื่องมือชั้นดีในการพัฒนาทักษะการเขียนให้ของคุณให้รอบด้านมากขึ้น

ยอมรับความคิดเห็นทั้งเชิงบวกและคำติชมนั้นเป็นโอกาสในการปรับปรุงตนเองและเติบโต คำวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์นั้นสามารถนำเสนอมุมมองใหม่ ๆ ไปพร้อมกับประเด็นที่ต้องการพัฒนา และสุดท้ายที่สุดจะช่วยให้คุณสามารถปรับปรุงการเขียนภาษาอังกฤษให้ได้ดีขึ้น ความเต็มใจและเปิดใจในการเรียนรู้จากคำติชมนั้นถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากข้อหนึ่งในการพัฒนาภาษาอังกฤษโดยเฉพาะทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

เพิ่มเติม

การเขียนไม่ได้เป็นเพียงการใส่ตัวอักษรลงไปในกระดาษเปล่า ๆ ให้เต็ม แต่มันถือเป็นเส้นทางการเดินทางที่รวมรวบความคิดสร้างสรรค์ของคุณ โครงเรื่องและฉบับร่างที่ผ่านการแก้ไขมานับไม่ถ้วน จนกลายเป็นงานเขียนที่มีความน่าประทับใจ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านเขียนและเต็มไปด้วยแรงผลักดัน พัฒนาทักษะการเขียนของคุณ เริ่มจากการขีดเขียนจนกลายเป็นนักเรียนผู้เชี่ยวชาญ

ขอให้สนุกกับการเขียน!

Helix